บ้านคำปุน แหล่งผลิตงานหัตถศิลป์ผ้าทอมือ
![]() |
บ้านคำปุน (bancompoon) เป็นแหล่งผลิตงานหัตถศิลป์ผ้าทอมือ และแหล่งอนุรักษ์ศิลปะพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของจังหวัดอุบลราชธานี มีลักษณะกึ่งพิพิธภัณฑ์ เป็นของเอกชน ตั้งอยู่เลขที่ 331 ถนนศรีสะเกษ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
![]()
บ้านคำปุนประกอบด้วยกลุ่มอาคารไม้ในแบบสถาปัตยกรรมอีสาน ที่สวยงาม
วิถีชีวิตของคนในบ้านคำปุน
1.จะอยู่กันแบบพึ่งพาแบบครอบครัวใหญ่ ถ้าใครมีครอบครัวก็จะไปเช้าเย็นกลับ 2.แต่ละคนจะมีแผนกงานที่รับผิดชอบ เช่น งานทอผ้า งานดอกไม้ใบตอง งานทำดอกเทียน ทุกคนจะมีอิสระในการทำงาน จะไม่มีการลงเวลา จะใช้คุณภาพของงานเป็นตัวชี้วัด 3.งานทุกแผนกในบ้านคำปุนจะเป็นงานที่ใช้สมาธิสูง อาศัยความประณีต ใจเย็นและอดทน เพราะเป็นงานฝีมือ ดังนั้นการ พูดจากันจึงพูดเสียงเบา สุภาพ อ่อนโยน ![]() ![]()
คำปุนเป็นชื่อเจ้าของบ้านคือ คุณแม่คำปุน ศรีใส เป็นผู้มีภูมิปัญญาทางด้านการทอผ้าพื้นบ้านทุกประเภทโดยเฉพาะผ้าไหม
![]()
บ้านคำปุน ถือได้ว่าเป็นแหล่งผลิตหัตถกรรมผ้าไหมทอมือที่มีชื่อเสียงของจังหวัด ปัจจุบันบ้านคำปุนมีช่างทอผ้ามากกว่า 30 คน ผลิตผ้าไหมด้วยกี่ทอมือ ผลิตผ้าไหมตามขั้นตอนแบบดั้งเดิมใช้เครื่องมือ เครื่องไม้แบบโบราณโดยไม่ใช้เครื่องจักรทุ่นแรงอื่นใด เช่น การเตรียมเส้นใย ก็ใช้วิธีการตีเกลียวจากการปั่นมือด้วยไน ผ้าทอมือที่มีชื่อเสียงของบ้านคำปุนคือผ้าไหมมัดหมี่ทอผสมเทคนิคจก ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งผลิตเดียวในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีการประดิษฐ์คิดค้นผ้าไหมแบบต่างๆ เช่น ผ้าไหมมัดหมี่ทอสอดเสริมเส้นพุ่งด้วยลูกปัดแก้วหรือหินต่างๆ และเม็ดเงิน รวมทั้งผ้าทอยกทองแบบอุบลฯ นอกจากนี้บ้านคำปุนยังเป็นผู้นำในการคิดค้น “ผ้ากาบบัว”คือเป็นผ้าเอกลักษณ์ ประจำจังหวัดอุบลฯ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมส่งเสริมให้ใช้อย่างแพร่หลาย
![]() คุณมีชัย แต้สุริยา บุตรชาย เล่าว่าการได้ไปซ่อมแซมวัดศรีอุบลรัตนาราม ทำให้เห็นคุณค่าในศิลปวัฒนธรรมของชาวอุบล จึงมีความคิดที่จะอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมจึงเป็นมาของ “บ้านคำปุน” บ้านคำปุนได้นำเสนอให้เห็นถึง ความเชื่อในด้านการดำเนินชีวิต ในวิถีชีวิตของคนอิสานจนเกิดเป็นประเพณี วัฒนธรรมของคนอิสาน เช่น ด้านศาสนา คนอิสานส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ พอถึงวันพระก็จะจัดดอกไม้หรือขันหมากซึ่งเป็นงานใบตองที่มีความสวยงาม ประณีต ตกแต่งด้วยดอกพุทธ เพื่อบูชาพระ หรือจัดพานดอกไม้ เช่น ดอกบัวนำมาจับจีบตกแต่งให้สวยงาม เพราะมีความเชื่อว่าสิ่งใดก็ตามที่เกี่ยวกับศาสนาต้องทำให้ดีให้สวย มิฉะนั้นจะบาป หรือบุคคลนั้น จะไม่เจริญรุ่งเรือง วัฒนธรรมผ่านการทอผ้า การทอผ้าบ่งบอกถึงวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ที่เรียบงายของชาวอิสาน ตามแบบเศรษฐกิจพอเพียงคือ ทำกินทำใช้ในครอบครัว ถ้ามีมากก็ขาย และลวดลายผ้าแสดงถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนอิสาน เช่น ลายน้ำไหล เป็นต้น ในวันสำคัญทางศาสนา ก็จะมีการทำต้นดอกผึ้ง หรือปราสาทผึ้งอย่างสวยงาม เพื่อนำไปถวายพระที่วัด จนกระทั่งวิวัฒนาการมาเป็นต้นเทียนที่มีความวิจิตรการตา เช่นในปัจจุบัน ซึ่งแสดงถึงความความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา และแสดงถึงด้านฝีมือช่าง งานศิลป์ของชาวอุบล พิพิธภัณฑ์ “บ้านคำปุน” จะเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวปีละ 3 วัน ในช่วงงานประเพณีแห่เทียนพรรษาเท่านั้น ค่าเข้าชม ท่านละ 100 บาท เพื่อสมทบทุนกิจกรรมสาธารณกุศลโดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : ร้านคำปุน โทรศัพท์ 045-254830,263489,323453
ที่มา : minniepiink.wordpress.com
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น